![à¸à¸¥à¸à¸²à¸£à¸à¹à¸à¸«à¸²à¸£à¸¹à¸à¸ าà¸à¸ªà¸³à¸«à¸£à¸±à¸ วัà¸à¸à¸±à¸à¸£à¹à¸¨à¸£à¸©à¸à¸à¸´à¸](https://i.ytimg.com/vi/zZqBPDNhiwg/maxresdefault.jpg)
8.1 ความหมายวัฏจักรเศรษฐกิจ
วัฏจักรเศรษฐกิจ
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงขึ้นลง ซ้ำๆ กันของเศรษฐกิจ ซึ่งมี 4 ระยะ คือ ระยะรุ่งเรือง
ระยะถดถอย ระยะตกต่ำ และระยะฟื้นตัว
ในแต่ละระยะมีเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน
ในแต่ละระยะไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเท่ากันเสมอไป
และอาจใช้เวลาในแต่ละช่วงอยู่ระหว่าง 2 - 5 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในภาวะเศรษฐกิจ
(สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556)
สาเหตุการเกิดวัฏจักรเศรษฐกิจ
เกิดจากสาเหตุภายนอกระบบเศรษฐกิจ และสาเหตุภายในระบบเศรษฐกิจ
จึงไม่สามารถบังคับไม่ให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจได้
แต่เมื่อเกิดวัฏจักรเศรษฐกิจในระยะที่ไม่พึงปรารถนาแล้ว
ก็สามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยใช้นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง
เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไว้
8.2 ภาวะในวัฏจักรเศรษฐกิจ
ภาวะในวัฏจักรเศรษฐกิจ (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556) ได้แก่
1.
Expansion (ภาวะเศรษฐกิจขยายตัว): เป็นช่วงที่การผลิต
อัตราการจ้างงาน อัตราดอกเบี้ย ความต้องการสินเชื่อ และ ความเชื่อมั่นเริ่มเพิ่มขึ้น
รายได้และรายจ่ายของครัวเรือนสูงขึ้น ทิศทางการลงทุนมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น
2.
Boom (ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง): อัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้นสูง
การผลิตและความเชื่อมั่นทรงตัว เป็นจุดสูงสุดของวัฏจักรเศรษฐกิจ
มีความขาดแคลนทั้งแรงงานและวัตถุดิบ ทำให้ต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
3.
Recession (ภาวะเศรษฐกิจถดถอย): ทิศทางการลงทุนมีแนวโน้มเป็นขาลง
เป็นช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การจ้างงาน และ ความต้องการสินค้าโดยรวมลดลง
ธุรกิจเริ่มขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน
4.
Depression (ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ): เป็นจุดต่ำสุดของภาวะเศรษฐกิจ
อัตราดอกเบี้ย ความต้องการสินเชื่อ และ ความเชื่อมั่นตกต่ำ
นโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มการผลิตเริ่มเข้ามามีบทบาทและวนกลับไปสู่ระยะถัดไปของวัฎจักร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น