เงิน คือ สิ่งใดๆ
ก็ตามที่สังคมยอมรับโดยทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่ง
และในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในฐานะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
ทั้งนี้สิ่งนั้นจะต้องถูกกำหนดค่าขึ้นเป็นหน่วยเงินตราและเป็นหน่วยวัดค่าที่แน่นอน
(Kamontip Punwong, 2556)
วิวัฒนาการของเงิน
·
เงินที่เป็นสิ่งของหรือสินค้า (Commodity Money)
·
โลหะและเหรียญ (Coins)
·
ธนบัตร (Paper
Money)
·
เงินฝากกระแสรายวัน (Demand Deposits)
คุณสมบัติของเงินที่ดี
·
เป็นสิ่งที่หายาก
·
มีมูลค่าคงที่
·
มีปริมาณที่ยืดหยุ่นได้
·
นำติดตัวไปได้สะดวก
·
สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยได้
·
มีความคงทน
การแลกเปลี่ยน
·
ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของ (Barter System)
·
ระบบที่มีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Money)
·
ระบบที่ใช้เครดิตเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Credit)
หน้าที่ของเงิน
·
เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of Exchange)
·
เป็นเครื่องวัดมูลค่า (Standard of Value)
·
เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคต (Standard of Deferred Payment)
·
เป็นเครื่องรักษามูลค่า (Store of Value)
ปริมาณเงิน
(Money Supply)
ปริมาณเงินตามความหมายแคบ
(M1) หมายถึง
สินทรัพย์ทางการเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งประกอบด้วยเหรียญกษาปณ์
ธนบัตร และเงินฝากกระแสรายวันทั้งหมดที่อยู่ในมือของประชาชน บริษัท ห้างร้าน
และองค์กรธุรกิจอื่นๆ ในขณะใดขณะหนึ่ง
M1 = เหรียญกษาปณ์ + ธนบัตร + เงินฝากกระแสรายวัน
***
ไม่รวมธนาคาร ไม่รวมธนาคารกลาง และกระทรวงการคลัง
ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง
(M2) หมายถึง
ปริมาณเงินตามความหมายแคบ (M1)
บวกด้วยสินทรัพย์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนและสามารถเปลี่ยนเป็นเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนโดยง่าย
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย หรือเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย
M2 = M1 + เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ
ปริมาณเงินตามความหมายกว้างมาก
(M3)
หมายถึงปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (M2)
บวกด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่ถือโดยเอกชน
M3 = M2 + ตั๋วสัญญาใช้เงิน
ตลาดการเงิน
(Financial Market) คือตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนเงินจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออมไปยังหน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการเงินออม
(เพื่อนำไปลงทุน)
โดยจะจำแนกตามระยะเวลาของเงินทุนหรือตราสารทางการเงินได้เป็นต้น
1. ตลาดเงิน
เป็นแหล่งระดมเงินออมระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) แล้วจัดสรรให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการเงินทุน
ซึ่งตราสารทางการเงินที่ใช้ในตลาดเงิน คือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน
และตั๋วเงินคลัง เป็นต้น โดยตลาดเงินสามารถแบ่งออกได้เป็น
1.1 ตลาดเงินในระบบ คือ
สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์
เป็นต้น
1.2 ตลาดเงินนอกระบบ คือ
แหล่งที่มีการกู้ยืมเงินโดยไม่มีกฎหมายรองรับ
การดำเนินการขึ้นอยู่กับข้อตกลงและความพอใจของผู้ให้กู้และผู้กู้ เช่น การเล่นแชร์
การให้กู้ การฝากขาย เป็นต้น
2. ตลาดทุน
เป็นแหล่งระดมเงินออมระยะยาว (เกิน 1 ปี)
เพื่อจัดสรรให้กับผู้ที่ต้องการเงินทุนระยะยาว
ซึ่งตราสารทางการเงินที่ใช้ในตลาดทุน ได้แก่ การกู้ระยะยาว หุ้นกู้ หุ้นสามัญ
พันธบัตร ทั้งของรัฐบาลและเอกชน เป็นต้น
โดยตลาดทุนอาจแบ่งเป็นตลาดสินเชื่อทั่วไปซึ่งประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนและตลาดหลักทรัพย์
ซึ่งแบ่งออกเป็นตลาดแรกและตลาดรอง
2.1 ตลาดแรก (Primary
Market) คือตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์ออกใหม่
2.2 ตลาดรอง (Secondary
Market) คือตลาดที่ซื้อหลักทรัพย์เก่า
(ที่เคยซื้อขายเปลี่ยนมือกันมาก่อน)
ธนาคารพาณิชย์
(Commercial Bank) หมายถึง
การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้
และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น
ให้กู้ยืมเงินซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด
ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้จะประกอบธุรกิจประเภทอื่นอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำหรือไม่ก็ตาม
หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์
·
ให้บริการทางการเงินทั้งในและต่างประเทศ เช่น รับฝากเงิน
โอนเงิน ให้กู้เงิน รับเก็บรักษาของมีค่า
·
สร้างและทำลายเงินฝากซึ่งเป็นหน้าที่พิเศษโดยเฉพาะของธนาคารพาณิชย์
สถาบันการเงินประเภทอื่นไม่มีอำนาจและหน้าที่เช่นนี้
ซึ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์แตกต่างจากสถาบันการเงินประเภทอื่น
อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย
(Legal Reserve Ratio) เป็นอัตราที่ธนาคารกลางกำหนดขึ้นคิดเป็นร้อยละของเงินฝาก
โดยธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งที่มีเงินฝากจะต้องดำรงเงินสดสำรองโดยฝากไว้ที่ธนาคารกลางอย่างน้อยที่สุดไม่ต่ำกว่าอัตราที่กำหนดนี้เงินสดสำรองตามกฎหมายหรือเงินสดสำรองที่ต้องดำรง
(Legal Reserve or Reserve Requirement) คือ
จำนวนเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงเมื่อเทียบกับจำนวนเงินฝาก ซึ่งปัจจุบัน
ธนาคารกลางได้กำหนดอัตราเงินสดสำรองไว้ที่ 6% หมายความว่ากู้เงิน 100 บาท
จากธนาคาร เราจะได้เงิน 94 บาท ส่วนอีก 6 บาทก็จะนำไปเก็บที่ธนาคารกลาง
ปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ
การฝากเงิน
/ การถอนเงิน
ฝากเงิน
= ปริมาณเงินเพิ่ม
ถอนเงิน
= ปริมาณเงินลด
ธนาคารกลาง
(Central Bank) คือ
สถาบันการเงินที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลให้ควบคุมดูแลระบบการเงินและเครดิตของประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม
ข้อแตกต่างระหว่างธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์
·
ธนาคารกลางทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก
ไม่ใช่แสวงหากำไรเหมือนธนาคารพาณิชย์
·
ธนาคารกลางไม่ดำเนินธุรกิจแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์
·
ลูกค้าของธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์เป็นคนละประเภทกัน
หน้าที่ของธนาคารกลาง
·
ออกธนบัตร
·
เป็นนายธนาคารของรัฐบาล
·
รักษาบัญชีเงินฝากของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
·
ให้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจกู้ยืมเงิน
·
เป็นที่ปรึกษาทางการเงินของรัฐบาล
·
เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาลในการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ
การชำระเงินกู้ การโอนเงินระหว่างประเทศ และภายในประเทศให้รัฐบาล
·
เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์
·
รักษาเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
·
เป็นสำนักงานกลางในการหักบัญชี
·
ให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงิน
·
เป็นศูนย์กลางการโอนเงินระหว่างธนาคาร
·
เป็นผู้รักษาเงินสำรองระหว่างประเทศ
·
เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย
·
เป็นผู้ควบคุมปริมาณเงินและเครดิต
·
เป็นผู้ควบคุมธนาคารพาณิชย์
นโยบายการเงิน
(Monetary Policy) คือ การดูแลปริมาณเงินและสินเชื่อโดยธนาคารกลาง
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ
ประเภทของนโยบายการเงิน
·
นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (Restrictive Monetary Policy) คือ
การใช้เครื่องมือต่างๆทางการเงินเพื่อให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลง
·
นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (Easy Monetary Policy) คือ
การใช้เครื่องมือต่างๆ ทางการเงินเพื่อให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
เครื่องมือของนโยบายการเงิน
·
การควบคุมทางปริมาณหรือโดยทั่วไป (Quantitative or General Control) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมทางปริมาณ ได้แก่
o การซื้อขายหลักทรัพย์ (Open-Market Operation)
o อัตรารับช่วงซื้อลด (Rediscount Rate)
o อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Bank Rate)
o เงินสดสำรองที่ต้องดำรง (Reserve Requirement)
·
การควบคุมทางคุณภาพหรือโดยวิธีเลือกสรร (Qualitative or Selective Credit Control) เป็นการควบคุมชนิดของเครดิตซึ่งใช้ในกรณีที่ธนาคารจำเป็นต้องจำกัดเฉพาะเครดิตบางชนิดเท่านั้น
โดยชนิดของเครดิตที่ธนาคารกลางมักจะเลือกควบคุม ได้แก่
o การควบคุมเครดิตเพื่อการซื้อหลักทรัพย์
o การควบคุมเครดิตเพื่อการอุปโภคบริโภค
o การควบคุมเครดิตเพื่อการซื้อบ้านและที่ดิน
·
การชักชวนธนาคารพาณิชย์ให้ปฏิบัติตาม
การคลังสาธารณะ
รายได้ของรัฐบาล
จะได้มาจากการเก็บภาษีอากร และรายได้ที่มิใช่ภาษีอากร
ภาษีอากร
เป็นรายได้ของรัฐบาลที่บังคับเก็บจากประชาชน เพื่อประโยชน์ของคนในประเทศ
โดยผู้จ่ายไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามส่วนของเงินที่จ่าย โดยรายได้ของรัฐบาลไทยมากกว่าร้อยละ
80 เป็นรายได้จากภาษีอากร
รายจ่ายของรัฐบาล
การใช้จ่ายของรัฐบาล เป็นการใช้จ่ายในสิ่งที่รัฐบาลต้องทำ
เพื่อประโยชน์ของคนทั้งประเทศ ซึ่งได้แก่ การรักษาความสงบภายในประเทศ
การป้องกันประเทศและการลงทุนในสาธารณูปโภค
หนี้สาธารณะ
หนี้ของรัฐบาลที่เกิดจากการกู้ยืมและการคำประกันเงินกู้โดยรัฐบาล
จะเรียกว่าหนี้สาธารณะ เพราะหนี้เหล่านี้จะต้องช้ำระด้วยภาษีอากร
ที่เรียกเก็บจากประชาชนทั้งประเทศ หนี้ของรัฐบาลที่เกิดจากการกู้ยืมโดยรัฐบาล
เกิดจากรัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
งบประมาณแผ่นดิน
เป็นแผนในการจัดหารายรับและรายจ่ายของรัฐบาลในช่วง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า ปีงบประมาณ
แต่ละประเทศจะมีวันเริ่มต้นไม่ตรงกัน สำหรับประเทศไทย จะเริ่มต้นวันที่ 1 ตุลาคม
และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน เช่น งบประมาณประจำปี 2554 จะเริ่มในวันที่ 1 ตุลาคม
พ.ศ.2553 และสิ้นสุดใน วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2554 เป็นต้น
นโยบายการคลัง
เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ด้วยการใช้มาตรการทางการคลัง ซึ่งได้แก่
มาตรการทางภาษี การใช้จ่ายของรัฐบาล และการก่อหนี้สาธารณะ ซึ่งนโยบายการคลังมี 2
แบบที่สำคัญ คือ
1. นโยบายการคลังแบบผ่อนคลาย
จะดำเนินการด้วยมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล ลดการเก็บภาษี
2. นโยบายการคลังแบบเข้มงวด
จะดำเนินการด้วยมาตรการลดการใช้จ่ายของรัฐบาลและเพิ่มการเก็บภาษี
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง
ราคาของเงินสกุลหนึ่งที่คิดเทียบกับเงินสกุลอื่น
อัตราแลกเปลี่ยนในระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์
ต่อเงินตราต่างประเทศ และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ เช่น เงิน 30 บาท = 1 ดอลลาร์
เปลี่ยนเป็น 33 บาท = 1 ดอลลาร์ หมายถึง เงินบาทอ่อนค่า และ 27 บาท = 1 ดอลลาร์
หมายถึง เงินบาทแข็งค่า
ดุลการชำระเงิน
เป็นการบันทึกจำนวนเงินตราต่างประเทศที่ประเทศได้รับและจ่ายในช่วงเวลาหนึ่ง
ประกอบด้วยบัญชีใหญ่ 3บัญชี คือ
1. บัญชีเงินเดินสะพัด
เป็นบัญชีที่แสดงถึงรายได้และรายจ่ายของประเทศ
2. บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย
เป็นบัญชีที่แสดงถึงจำนวนเงินลงทุน เงินกู้ยืม และเงินฝากทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ของชาวต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศ
3. บัญชีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
เป็นทรัพย์สินที่สามารถใช้ชำระหนี้ระหว่างประเทศได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น