![à¸à¸¥à¸à¸²à¸£à¸à¹à¸à¸«à¸²à¸£à¸¹à¸à¸ าà¸à¸ªà¸³à¸«à¸£à¸±à¸ à¸à¸¸à¸à¸ªà¸à¸à¹à¹à¸¥à¸°à¸à¸¸à¸à¸à¸²à¸](https://i.ytimg.com/vi/lwSNJjOBLiU/maxresdefault.jpg)
1.1) ความหมายของเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ คือ
ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลือกหนทางในการใช้ปัจจัยการผลิตอันมีอยู่จำกัด
สำหรับการผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์
อุปสงค์และอุปทาน (ชมพูนิกข์ อัมพรมหา,
2557)
1.2) ความหมายอุปสงค์และอุปทาน
ในทางเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทาน (อังกฤษ: Demand and Supply) เป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน
โดยถือว่าอุปสงค์และอุปทาน
เป็นตัวแปรที่กำหนดปริมาณและราคาของสินค้าแต่ละชนิดในตลาด
โดยทั่วไป อุปสงค์ หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ในขณะที่อุปทาน
หมายถึง ความต้องการขายสินค้าและบริการ (ชมพูนิกข์ อัมพรมหา,
2557)
1.3) กฎอุปสงค์และอุปทาน
กฎอุปสงค์ (Law of Demand) และอุปทาน (Law of
Supply) เป็นหลักการที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณความต้องการซื้อหรือขาย
โดยกฎอุปสงค์ระบุว่า ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า หรือเรียกว่าปริมาณอุปสงค์ (quantity
demanded) มีความสัมพันธ์ในทางลบกับราคา เมื่อปัจจัยอื่นๆ
ที่มีผลนั้นคงที่ กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะต้องการซื้อสินค้านั้นน้อยลง กฎอุปทานระบุว่า ปริมาณสินค้าที่ต้องการขาย
หรือปริมาณอุปทาน (quantity supplied) มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับราคา
เมื่อปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลนั้นคงที่ กล่าวคือเมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
ผู้ขายมีแนวโน้มที่จะต้องการขายสินค้ามากขึ้นบวง (ชมพูนิกข์
อัมพรมหา, 2557)
กฎอุปสงค์และอุปทาน มักนำเสนอออกมาในรูปแบบของแผนภูมิเส้น
โดยให้แกนตั้งเป็นราคา และแกนนอนเป็นปริมาณสินค้า
เส้นอุปสงค์มักเขียนออกมาเป็นเส้นลาดลง และเส้นอุปทานเป็นเส้นชันขึ้น
แม้ว่าโดยทั่วไปเส้นกราฟอุปทานจะมีลักษณะชันขึ้น อย่างไรก็ตาม
มีบางกรณีที่เส้นกราฟอุปทานที่ว่ากันว่าแบบสมมติฐาน ตัวอย่างของข้อยกเว้นนี้ได้แก่
เส้นกราฟอุปทานของแรงงานที่มีลักษณะของการโน้มกลับ กล่าวคือ
เมื่ออัตราค่าแรงเพิ่มขึ้น คนงานคนหนึ่งก็พร้อมจะทำงานเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากขึ้น
แต่เมื่ออัตราค่าแรงขึ้นถึงจุดที่สูงมากๆ
คนงานอาจพบกับเลือกทำงานน้อยลงและใช้เวลาว่างมากขึ้น
การวกกลับของเส้นกราฟอุปทานยังปรากฏในตลาดอื่นด้วย เช่นในตลาดน้ำมัน
ประเทศที่ส่งออกน้ำมันหลายประเทศลดการผลิตน้ำมันหลังจากราคาพุ่งสูงขึ้นในวิกฤตการณ์น้ำมันปี
พ.ศ. 2520
1.4) ความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทาน
โมเดลของอุปสงค์และอุปทาน อธิบายว่า ตลาดมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ดุลยภาพ (equilibrium)
ซึ่งปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานจะเท่ากัน
เรียกราคาที่ภาวะดุลยภาพว่า ราคาดุลยภาพ และปริมาณสินค้าที่ภาวะนี้ว่า
ปริมาณดุลยภาพ หากปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน
ซึ่งเกิดเมื่อราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพของสินค้านั้น จะเกิดการขาดแคลนสินค้า
หรือเรียกว่ามีอุปสงค์ส่วนเกิน ในขณะที่เมื่อปริมาณอุปทานมากกว่าปริมาณอุปสงค์
คือเมื่อราคาสินค้าสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดสินค้าล้นตลาด หรืออุปทานส่วนเกิน
โดยเมื่อเกิดกรณีเหล่านี้
ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจะตอบสนองจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ดุลยภาพต่อเนื่องกัน
ในการแสดงด้วยแผนภูมิ ดุลยภาพคือจุดที่เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานตัดกัน (ชมพูนิกข์ อัมพรมหา, 2557)
1.5) การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทาน
กฎอุปสงค์และกฎอุปทาน อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณสินค้า
เมื่อปัจจัยอื่นๆ คงที่ หากปัจจัยอื่นเกิดความเปลี่ยนแปลง
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์หรืออุปทาน
คือปริมาณอุปสงค์หรือปริมาณอุปทานจะมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงที่ทุกระดับราคา
แสดงในแผนภูมิในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์หรืออุปทาน
ปัจจัยกำหนดอุปสงค์สำคัญที่มักกล่าวถึงได้แก่ รายได้ ราคาของสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง
รสนิยม ความคาดหวัง จำนวนผู้ซื้อ ในขณะที่ปัจจัยที่กำหนด
สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในหลักการของอุปสงค์และอุปทานได้แก่ความยืดหยุ่น (elasticity)
ในทฤษฏีของอุปสงค์และอุปทาน
ความยืดหยุ่นคือการวัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน
การศึกษาความยืดหยุ่นที่มักนำมาพิจารณาคือความยืดหยุ่นต่อราคา
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของราคา
(ชมพูนิกข์ อัมพรมหา, 2557)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น