4.1) ความหมายและความสำคัญของรายได้ประชาชาติ
รายได้ประชาชาติ หมายถึง มูลค่าเป็นตัวเงินของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย
ตามราคาตลาดที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศ ในระยะเวลา 1
ปี (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556)
ในปัจจุบันทุกประเทศในโลกต่างก็มีการศึกษาเกี่ยวกับตัวเลขรายได้ประชาชาติอย่างจริงจัง
ทั้งนี้เพราะรายได้ประชาชาติก็ คือ รายได้ประเทศนั้นเอง
ตัวเลขที่เกี่ยวกับรายได้ประชาชาติเป็นเครื่องมือตัวหลักและตัวแรกสำหรับแสดงฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ
ที่ชัดเจนกว่าตัวชี้วัดอื่น เพราะเป็นตัวเลขที่วัดได้และเก็บข้อมูลได้
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชาชาติจะช่วยให้เราทราบความเคลื่อนไหวในทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้นและสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจและหาทางป้องกันปัญหารุนแรงต่างๆ
รายได้ประชาชาติ โดยตั้งมาตรฐานการเก็บข้อมูลและวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคำนวณไว้ให้เป็นแนวเดียวกัน
เพื่อใช้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นได้ด้วย
ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำรายได้ประชาชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2593 ในปัจจุบันรายได้ประชาชาติของประเทศไทยคำนวณขึ้นโดยกองบัญชีประชาชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี
4.2) ประเภทของรายได้ประชาชาติ
ประเภทของรายได้ประชาชาติ ได้แก่ (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556)
1.
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ : GDP (Gross Domestic Product) คือ
มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในอาณาเขตของประเทศ
ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
:GNP (Gross National Product) คือ
มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ประชาชาติผลิตได้โดยใช้ทรัพยากรของประเทศ
ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
3. ผลิตภัณฑ์ในประเทศสุทธิ : NDP
(Net Domestic Product) คือ
มูลค่าสุทธิของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในอาณาเขตของประเทศ
ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
4. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ :
NNP (Net National Product) คือ
มูลค่าสุทธิของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ประชาชาติผลิตได้โดยใช้ทรัพยากรของประเทศ
ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
5. รายได้ประชาชาติ : NI
(National income) คือ
มูลค่าสุทธิของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ประชาชาติผลิตได้โดยใช้ทรัพยากรของประเทศ
ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังหักภาษีทางอ้อมสุทธิแล้ว
6. รายได้ส่วนบุคคล : PI
(Personal income) คือ
รายได้ที่ครัวเรือนได้รับจริงก่อนหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
7. รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ : DPI
(Disposable Personal income) คือ
รายได้ที่ครัวเรือนได้รับหลังหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สามารถนำไปใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการได้จริง
4.3) ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ประชาชาติประเภทต่างๆ
สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์ (2556) อธิบายไว้ดังนี้
GNP
= GDP + รายได้ปัจจัยการผลิตสุทธิจากต่างประเทศ
การคำนวณรายได้ปัจจัยการผลิตสุทธิจากต่างประเทศ เช่น กรณีแรงงาน
สามารถคำนวณได้จากการนำเอารายได้ของแรงงานไทยในต่างประเทศหักออกจากรายได้ของแรงงานต่างด้าวภายในประเทศไทย
นั่นเอง
NDP
= GDP - ค่าใช้จ่ายกินทุน
ค่าใช้จ่ายกินทุน(capital consumption allowance : CCA) ได้แก่ ค่าเสื่อมราคา ค่าชำรุดสึกหรอของปัจจัยการผลิต
และค่าทรัพย์สินสูญหาย
NI =
NNP - ภาษีทางอ้อมสุทธิ
การคำนวณภาษีทางอ้อมสุทธิ สามารถคำนวณได้จากการนำเอาภาษีทางอ้อมของธุรกิจ
(เช่น ภาษีการค้า ภาษีการขาย ภาษีสรรพสามิต ฯลฯ) หักออกด้วยเงินอุดหนุน
PI =
NI - กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรรของกิจการ - ภาษีเงินได้นิติบุคคล -
เงินโอน
เงินโอน ได้แก่ เงินบำเหน็จบำนาญ เงินสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เงินสงเคราะห์คนชรา
เงินบริจาคเพื่อการกุศล เงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ฯลฯ
DPI
= PI – ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ
ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี
4.4) บัญชีรายได้ประชาชาติ
เป็นระบบบัญชีทางด้านเศรษฐกิจที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก มีกำเนิดขึ้นเมื่อ
ปี ค.ศ. 1930 โดย Simon Kuznets ชาวรัสเซีย
ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ เมื่อปี ค.ศ. 1971
จัดทำโดยอาศัยพื้นฐานการพิจารณากระแสการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ
อันได้แก่ กระแสการหมุนเวียนของเงินตรา (circular flow money) และกระแสการหมุนเวียนของสินค้า (circular flow of commodities) ในแต่ละประเทศจะมีความคล้ายคลึงกัน
เนื่องจากได้ยึดเอาแม่แบบมาจากระบบบัญชีประชาชาติของสหประชาชาติ (United
National System of National Accounting : UN SNA) เป็นหลัก
สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ได้เริ่มมีการจัดทำสถิติในรูปแบบบัญชีรายได้ประชาชาติครั้งแรกเมื่อ ปี ค.ศ. 1950 บัญชีนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการคำนวณหารายได้ประชาชาติของประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น