![à¸à¸¥à¸à¸²à¸£à¸à¹à¸à¸«à¸²à¸£à¸¹à¸à¸ าà¸à¸ªà¸³à¸«à¸£à¸±à¸ à¹à¸à¸´à¸à¹à¸à¹à¸](https://dp1ole7q4wdk0.cloudfront.net/stories/16605/500226_large.png)
7.1) ความหมายของเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อ
: ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่จำเป็นว่าราคาสินค้าทุกชนิดต้องสูงขึ้นในเวลาที่เกิดเงินเฟ้อ
อาจมีสินค้าบางชนิดราคาราคาลดลงได้และบางชนิดราคาสูงขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือ
เมื่อพิจารณาราคาทั้งหมดแล้วโดยเฉลี่ยมีราคาสูงขึ้น (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์,
2556)
เราดูเงินเฟ้อได้จากดัชนีราคาผู้บริโภค
(Consumer price index: CPI
ดัชนีราคา
: ตัวเลขที่แสดงระดับราคาของปีได้ปีหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระดับราคาของปีฐาน
โดยให้ระดับราคาของปีฐานเทียบเท่ากับ 100
อัตราเพิ่มของดัชนีราคาผู้บริโภคที่คำนวณออกมาในรูปร้อยละ แสดถึง
อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate)
Inflation
rate t = (CPIt – CPIt-1/ CPIt-1 )*100
Inflation
rate 2007 = (CPI2007 – CPI2006/ CPI2006 )*100
7.2) สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ
ประการที่
1 เงินเฟ้อเกิดจาก ต้นทุนสินค้า หรือ เงินเฟ้อด้านอุปทาน(Cost –Push Inflation) เป็นเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น
ทำให้ผู้ผลิตจะต้องเสนอขายสินค้าในราคาที่สูงขึ้น กรณีดังกล่าว
ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจาก (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์,
2556)
-
ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น
-
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และวัตถุดิบต่าง ๆ สูงขึ้น
-
การเพิ่มขึ้นของอัตรากำไรของผู้ผลิต ตัวนี้จะไม่ค่อยเห็นมากนัก แต่จะมีในบางธุรกิจ
ที่เป็นธุรกิจผูกขาด ซึ่งมีการกำหนดไว้ว่าต้องได้ผลกำไรเท่าไหร่ต่อปี
7.3) เงินเฟ้อ ด้านอุปสงค์ (Demand-Pull
Inflation)
เงินเฟ้อส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น
จะเป็นเงินเฟ้อทางด้านอุปสงค์มากกว่า เงินเฟ้อด้านอุปสงค์ หมายถึง ความต้องการใช้จ่ายซึ่งเกิดจากอุปสงค์รวมเพิ่มขึ้น
(AD) ในขณะที่อุปทานรวมของสินค้าและบริการไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้
หรือก็คือ อุปสงค์ของประเทศมีความต้องการใช้จ่ายมากกว่าผลผลิตที่มีอยู่ (AD
> DS) ซึ่งส่งผลทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น (สุดารัตน์
พิมลรัตนกานต์, 2556)
อุปสงค์รวม
(AD) จะเพิ่มขึ้นเนื่องจาก
1.
ส่วนประกอบของ AD เพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากทางภาคเศรษฐกิจ คือ C.I.G. และ
(X-M) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ AS คงที่
ซึ่งจะทำให้ ราคาสูงขึ้น มากกว่า CPI จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ
เช่น หากรัฐบาลไม่ดูว่า เศรษฐกิจของประเทศ ณ ขณะนั้นเครื่องกำลังร้อน
แล้วไปกระตุ้นการลงทุนเพิ่ม ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้นได้
2.
ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น (M :
Money Supply) อันเป็นผลมาจากทางภาคการเงิน
เนื่องจากการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แลสถาบันการเงิน เช่น การใช้บัตรเครดิต,
Soft Loan, Car for Cash, Quick Cash เป็นต้น
เมื่อมีการปล่อยเงินหรือสินเชื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากเกินไป ในขณะที่ AS คงที่ ซึ่งจะมีผลทำให้ ราคาสินค้าสูงขึ้น CPI สูงขึ้น
ทำให้เกิดเงินเฟ้อ โดยการเพิ่มของปริมาณเงินที่มีมากเกินไป
ไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ
เนื่องจากการพิมพ์เงินเพิ่มแต่ละครั้งของธนาคารแห่งประเทศไทย
จะต้องมีทุนสำรองเงินตรา (Currency reserves) รองรับ ในอดีตหากจะพิมพ์เงินขึ้นมา
100 บาท ก็จะต้องมีทองคำหรือเงินตราต่างประเทศที่เป็นสกุลหลักรองรับอยู่ที่ 100
บาท เท่ากัน แต่ปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 30 ซึ่งถ้าเราไม่มีทุนสำรองรองรับ
เงินที่พิมพ์ออกมานั้นก็คือกระดาษและถ้าผู้คนแห่เอากระดาษไปซื้อสินค้าก็จะเกิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้นในระบบเศรษฐกิจทันที
7.4) ผลกระทบของเงินเฟ้อ
ผลกระทบของเงินเฟ้อ (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์,
2556) ได้แก่
1.
ผลที่มีต่อความต้องการถือเงิน
เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อจะทำให้อำนาจซื้อของเงินที่อยู่ในมือของประชาชนลดลง ทั้งนี้
เพราะเงินจำนวนเดิมสามารถใช้จับจ่ายซื้อของได้ในปริมาณที่น้อยลง
และเนื่องจากแต่ละบุคคลจะพยายามรักษาระดับการบริโภคของตนให้อยู่ในระดับเดิม
ทำให้ประชาชน
มีความต้องการถือเงินเพิ่มขึ้นเพื่อให้พอเพียงกับระดับการใช้จ่ายหรือการบริโภคของแต่ละบุคคล
ซึ่งความต้องการดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น
2.
มาตรฐานการครองชีพของประชาชน
ผลกระทบโดยตรงที่เกิดจากเงินเฟ้อก็คือทำให้มาตรฐานการครองชีพความอยู่ดีกินดีของประชาชนลดลง
ในยุคที่ข้าวยากหมากแพงประชาชนจะได้รับความเดือดร้อน
เนื่องจากแต่ละบุคคลจะมีความรู้สึกว่าตนเองจนลง คือมีรายได้ที่แท้จริงลดลง
แม้ว่ารายได้ที่เป็นตัวเงินจะเท่าเดิมก็ตาม
3.
ผลที่มีต่อเจ้าหนี้และลูกหนี้ เมื่อเกิดเงินเฟ้อ เจ้าหนี้จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
เนื่องจากเงินที่ได้รับชำระหนี้ในปัจจุบันหรืออนาคตจะมีอำนาจซื้อลดลง
เมื่อเทียบกับในขณะที่ให้กู้ยืมไป ตรงกันข้าม ลูกหนี้จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเนื่องจากเงินที่ได้รับไปขณะกู้ยืมมีอำนาจซื้อสูงกว่า
โดยเปรียบเทียบ กับเงินที่จะใช้ชำระหนี้ในอนาคต
4.
ผลที่มีต่อระดับการผลิตและการลงทุนของประเทศ
ขึ้นอยู่กับว่าภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับมากน้อยเพียงใด กล่าวคือ
ถ้าเป็นเงินเฟ้ออย่างอ่อนจะเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม นั่นคือ
เงินเฟ้อจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ผลิตลงทุนเพื่อการผลิตเพิ่มขึ้น
ทำให้ผลผลิตรวมของประเทศสูงขึ้น แต่ถ้าเงินเฟ้อที่ค่อนข้างรุนแรงหรือรุนแรงมากแล้ว
นอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม แล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียอีกด้วย
กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นมากกว่ากำลังซื้อของประชาชน ที่มีอยู่
จะทำให้ผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาแล้วไม่สามารถขายได้
เนื่องจากประชาชนไม่มีกำลังซื้อเพียงพอ ในที่สุดจะส่งผลให้ผู้ผลิตลดการลงทุน
ทำให้ผลผลิตรวมของประเทศลดลง ประชาชนมีรายได้น้อยลง
5.
ผลที่มีต่อดุลการค้า ดุลการชำระเงิน เมื่อเกิดเงินเฟ้อ
ราคาสินค้าในประเทศมีแนวโน้ม สูงขึ้นเมื่อเทียบกับในต่างประเทศ
ทำให้สินค้าที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศมีราคาแพงขึ้น
เป็นผลให้ขายสินค้าให้ต่างประเทศได้น้อยลง ตรงกันข้าม
จะมีการสั่งซื้อสินค้าเข้าจากต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อฐานะดุลการค้า
ดุลการชำระเงินของประเทศ ทำให้มีสภาพเลวลง
7.5 แนวทางแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ
เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ
ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นจะทำให้ประชาชนโดยทั่วไปเดือดร้อน ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ
รัฐบาลจึงกำหนดแนวทางแก้ไข (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556) ดังนี้
1.
ใช้นโยบายทางการเงิน
โดยเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เพื่อลดปริมาณเงินในมือประชาชนให้น้อยลง
ทำให้ปริมาณความต้องการในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคลดลงนอกจากนี้ยังเพิ่มการขายพันธบัตรรัฐบาลให้ธนาคารพาณิชย์และประชาชนมากขึ้น
แต่ขณะเดียวกันก็ลดการรับชื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชนและลดการขยายเครดิตหรือปล่อยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
2.
ใช้นโยบายการคลัง โดยเพิ่มการเก็บภาษีจากประชาชน ใช้งบประมาณแบบเกินดุล คือ
ลดรายจ่ายภาครัฐให้น้อยลง แต่เพิ่มรายได้ของรัฐบาลโดยการเก็บภาษีให้มากขึ้น
เพื่อลดปริมาณเงินในมือประชาชนให้น้อยลง
7.6
ภาวะเงินฝืด (Deflation)
เงินฝืด หมายถึง
ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการในตลาดลดลง ค่าของเงินเพิ่มขึ้น
ปริมาณเงินอยู่ในมือประชาชนน้อยเกินไป (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556)
ประเภทเงินฝืด
แบ่งเป็น
1.
เงินฝืดอย่างอ่อน เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ราคาสินค้าในตลาดทั่วไปจะลดลงเล็กน้อย
2.
เงินฝืดอย่างปานกลาง มีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจแต่ไม่รุนแรง
ระดับราคาสินค้าทั่วไปในตลาดจะลดลงมากกว่าเงินฝืดอย่างอ่อน
3.
เงินฝืดอย่างรุนแรง
สาเหตุของเงินฝืด
เงินฝืดเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1.
เกิดจากปริมาณความต้องการในการซื้อสินค้าหรือบริการมีน้อยกว่าปริมาณความต้องการในการขายสินค้าหรือบริการ
ทำให้สินค้าเหลือเกินความต้องการ ราคาสินค้าลดลง
2.
เกิดจากรัฐบาลเก็บภาษีมากเกินไป ทำให้ปริมาณเงินที่ประชาชนจะซื้อสินค้ามีน้อยลง
3.
ประชาชนเก็บเงินไว้กับตัวมากเกินไป ทำให้การบริโภคมวลรวมลดลง
4.
มีการส่งเงินตราออกไปต่างประเทศมากเกินไป ทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อย
7.8) ผลกระทบของเงินฝืด
เงินฝืดทำให้ผู้ผลิตขาดทุน การค้าซบเซา
การผลิตเลิกกิจการ ลูกจ้างแรงงานตกงาน เกิดปัญหาว่างงาน เศรษฐกิจตกต่ำ
รัฐบาลไม่สามารถเก็บภาษีจากผู้มีรายได้และผู้ผลิตได้ตามเป้าหมาย ในขณะเดียวกันรัฐบาลต้องแบกภาระในการแก้ปัญหาคนว่างงานและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
อย่างไรก็ดี ภาวะเงินฝืดจะเป็นผลดีและผลเสียต่อบุคคลในกลุ่มต่างๆ (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์,
2556) ดังนี้
1.
ผลดีต่อผู้มีรายได้ประจำ เพราะซื้อสินค้าหรือบริการได้ในราคาลดลง
ส่วนเจ้าหนี้และผู้มีเงินออมจะได้เปรียบ เนื่องจากราคาสินค้าลดลง
ค่าของเงินเพิ่มขึ้น ทำให้อำนาจซื้อเพิ่มขึ้น
2.
ผลเสียต่อผู้ผลิต จะได้รับผลกระทบ เพราะราคาสินค้าลดลง อาจต้องประสบปัญหาขาดทุน
นอกจากนี้ ลูกหนี้ และนายธนาคาร จะเกิดความเสียเปรียบในด้านค่าของเงิน
7.9) แนวทางแก้ไขภาวะเงินฝืด
เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด
การผลิตลดลง เกิดปัญหาว่างงาน เศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ
รัฐบาลจึงกำหนดแนวทางแก้ไข (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556) ดังนี้
1.
ใช้นโยบายทางการเงิน
โดยลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในมือประชาชนให้มากขึ้น
ทำให้ปริมาณความต้องการในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังลดการขายพันธบัตรรัฐบาลให้ธนาคารพาณิชย์และประชาชน
แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มการรับชื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชนให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนให้สูงขึ้น
ตลอดจนเพิ่มการขยายเครดิตหรือปล่อยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ไปยังกลุ่มผู้ประกอบการ
หรือผู้ผลิต เพื่อช่วยให้การผลิตดำรงอยู่ได้
2.
ใช้นโยบายการคลัง โดยรัฐบาลใช้งบประมาณแบบขาดดุล คือ เพิ่มรายจ่ายภาครัฐให้มากขึ้น
และลดรายได้ภาครัฐให้น้อยลง เพื่อทำให้ปริมาณเงินในมือประชาชนเพิ่มขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น