วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

10) การพัฒนาเศรษฐกิจ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การพัฒนาเศรษฐกิจ

         10.1) ความหมายการพัฒนาเศรษฐกิจ
          ความหมาย ของการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึง การทำให้รายได้ที่แท้จริงต่อคนเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น เวลานาน เพื่อทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และ สังคม โดยมีจุดมุ่งหมาย (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556) ดังนี้
          1) เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อทำให้มีสินค้าและบริการมากขึ้นหรือทำ ให้รายได้ที่แท้จริงต่อคนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
          2) มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หมายถึงการมีความสมดุลในตลาดต่างๆ ทำให้เกิด การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
          3) มีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ หมายถึงการมีความยุติธรรมในการกระจาย รายได้ และการกำหนดราคา ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ใกล้เคียงกัน
          4) มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ หมายถึงการมีอิสระในการเลือกอาชีพและเลือกวิถีการ ดำรงชีวิตของแต่ละคน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน
          5) มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หมายถึงการมีความมั่นคงในฐานะทางการเงินของ ประเทศ และสถาบันการเงินของประเทศ เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดสรรทรัพยากรของประเทศ เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ
          6) มีความสงบทั้งภายในและภายนอกประเทศ
          7) ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีสุขภาพแข็งแรง

          10.2) ลักษณะของประเทศด้อยพัฒนา
          ลักษณะของประเทศด้อยพัฒนา (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556) ได้แก่
          1. รายได้ต่อคนต่ำ
          2. ขาดแคลนทุน
          3. การออมมีจำนวนน้อย
          4. มีช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจน
          5. ทัศนคติค่านิยมของสังคมและวัฒนธรรมยังล้าหลัง ไม่อำนวยต่อการพัฒนา
          6. การผลิตสินค้าเป็นขั้นปฐมภูมิ
          7. มีการสั่งสินค้าเข้าจำนวนมาก
          8. ส่งออกน้อยกว่าผลิตผลมวลรวมของประเทศ
          9. มีประชากรหนาแน่น
          10. อัตราการเกิดการตายสูง
          11. การขยายตัวทางอุตสาหกรรมถูกจำกัดโดยขนาดและคุณภาพของประชากร การสะสมทุน ความรู้ทางเทคนิค ทรัพยากรธรรมชาติ

          10.3) ตัวเลขรายได้ที่แบ่งประเทศพัฒนากับด้อยพัฒนา
          ตัวเลขรายได้ที่แบ่งประเทศพัฒนากับด้อยพัฒนา (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556) มีดังนี้
          1. ประเทศด้อยพัฒนา (Underdeveloped Nations) มีรายได้ต่อคน ต่ำกว่า 600 ดอลล่าร์ต่อปี บางทีก็เรียกกลุ่มนี้ว่ากำลังพัฒนา
          2. ประเทศกึ่งพัฒนา (Semi-Developed Nation) มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 600 ดอลล่าร์ขึ้นไป
          3. ประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Nation) ประชากรมีรายได้ต่อคนสูงกว่า 1,500 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปีขึ้นไป

          10.4) ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
          ประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้มีความเจริญทัดเทียมกับประเทศที่มีการพัฒนาระดับสูงหรือประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่างๆพอสรุปได้ดังนี้ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้นโดยปกติประเทศด้อยพัฒนาจะมีรายได้ ที่แท้จริงต่อบุคคลต่ำ มีอัตราเพิ่มของผลผลิตและรายได้ประชาชาติในอัตราต่ำ ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีอัตราการเพิ่มสูงดังนั้นหากไม่มีการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้อยพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้วมากขึ้นขณะเดียวกันในประเทศด้อยพัฒนาเองก็มีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนรวยกับคนจนหากไม่มีการแก้ปัญหาเหล่านี้จะทำให้ประชาชนในประเทศขาดความสามัคคีดังนั้นประเทศด้อยพัฒนาจึงพยายามพัฒนาเศรษฐกิจให้ประชาชนของประเทศมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นทั้งนี้เพราะมีความเชื่อว่าเมื่อฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ(ประชาชน)ดีขึ้นแล้วมาตรฐานการดำรงชีพของประชาชนก็จะสูงขึ้นด้วยนอกจากนี้ยังช่วยลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนต่างๆในสังคมอีกด้วยทำให้ประเทศสามารถช่วยเหลือตนเองได้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองการพัฒนาเศรษฐกิจนอกจากจะมีผลทำให้ฐานะของประชาชนในประเทศดีขึ้นแล้วยังส่งผลให้ความมั่นคงของฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นด้วย ทำให้ประเทศชาติมีเงินทุนในการทำนุบำรุงประเทศทั้งในด้านการศึกษา สาธารณูปโภค และการป้องกันประเทศซึ่งทำให้ประเทศมีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจช่วยเหลือเศรษฐกิจของโลกตามปกติประเทศพัฒนาจะมีบทบาทในการช่วยเหลือทางการค้ากับประเทศด้อยพัฒนาในการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเงินทุนเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆเพื่อให้ประเทศด้อยพัฒนามีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในอนาคตหากประสบความสำเร็จจะทำให้ประเทศมีรายได้ที่แท้จริงต่อหัวของประชาชนสูงขึ้นเมื่อรายได้ของประชาชนสูงขึ้นย่อมมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศทำให้การค้าของโลกขยายตัวโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วจะสามารถขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโลก (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556)

          10.5) วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาเศรษฐศาสตร์
          แผนพัฒนาเศรษฐศาสตร์ คือ "บันทึกแผนงานเป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ แผนการดำเนินงาน วิธีการดำเนินงาน กำหนดหน่วยงานที่จะปฎิบัติตามแผนการต่างๆ ไว้เป็นระบบ" (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556)

          10.6) แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนา
          แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนา มีวัตถุประสงค์กว้าง ๆ 4 ประการ ดังนี้คือ
1.ยกระดับอัตราการเพิ่มของรายได้ประชาชาติและรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลให้สูงขึ้น
2.รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศและระหว่างประเทศให้มีความมั่นคงที่สุด
3.ขจัดปัญหาการว่างงาน (unemployment) และการทำงานไม่เต็มที่ (under employment)
4.กระจายรายได้ไปยังประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้ได้รับรายได้ในระดับที่ใกล้เคียงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพของประชาชนในชนบทให้ทัดเทียมกับประชาชนในเมือง (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556)

          10.7) แผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
          แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคือ เอกสารด้านนโยบายสาธารณะที่ใช้ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ (ตั้งแต่แผนฉบับที 1) และสังคม (ตั้งแต่แผนฉบับที 2เป็นต้นมา) ร่วมกันของประเทศไทย โดยได้ประกาศใช้ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2504 และมีการประกาศใช้เรื่อยมาจนกระทั่งถึงแผน 10 ในปัจจุบันประเทศไทยมีแนวคิดด้านการจัดทำแผนพัฒนาขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกในสมัย แรกเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยใน พ.ศ.2475 คณะราษฎร์โดยหลวงประดิษฐมนูญธรรม (ปรีดีพนมยงค์) ได้นำเสนอแผนที่มีชื่อว่า เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติแต่ประสบปัญหาความขัดแย้งด้านแนวคิดของแผนที่มีลักษณะการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบของรัฐสังคมนิยม จึงทำให้แผนดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจแต่ประการใดในปีพ.ศ.2493 รัฐบาลได้จัดตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาให้แก่รัฐบาลในเรื่องเศรษฐกิจการคลัง และมีคณะกรรมการดำเนินการทำผังเศรษฐกิจ ซึ่งทำหน้าที่วางกรอบโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวถือเป็นคณะทำงานหลักของสภาเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2504 รัฐบาลของจอมพลสฤษดิธนะรัชต์ได้มีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติเป็นผู้วางแผน โดยธนาคารโลกได้ส่งผู้เชียวชาญเข้ามาให้การช่วยเหลือทางวิชาการในการกำหนดแผนดังกล่าว ลักษณะสำคัญที่ทำให้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีความเป็นพิเศษคือ การวางระบบความสัมพันธ์ของแผน เช่น ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้โดยที สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติได้พิจารณากำหนดจุดหมาย นโยบาย แผนการและโครงการพัฒนาการเศรษฐกิจเพื่อวางแผนการส่วนรวมสำหรับระยะเวลาหนึ่ง และได้วางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติระหว่างระยะเวลา พ.ศ.2504 ถึง พ.ศ.2506 และถึง พ.ศ. 2509 ...”จากแผนดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีลักษณะเศรษฐกิจแบบผสม (Mix Economy) โดยที่มีหลักการทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีพร้อมกับการที่รัฐเข้ามามีบทบาทในการวางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน พร้อมกันนี้รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนบทบาทของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติให้มีบทบาทในการเป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติใน พ.ศ.2502 (สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, 2556)
          ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้
          ส่วนที่ 1. กรอบแนวคิด
          เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
          ส่วนที่ 2. คุณลักษณะ
          เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
          ส่วนที่ 3. คำนิยาม
          ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
          ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
          การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
          ส่วนที่ 4. เงื่อนไข
          การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้
          เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
          เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
          ส่วนที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น